โรงเรียนบำรุงวิทยาได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2489 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนลำปลายมาศวิทยา” ด้วยความร่วมมือของพ่อค้าประชาชนตลาดลำปลายมาศ โดยมีจุดประสงค์เพื่ออบรมสั่งสอนให้กับลูกหลานได้มีที่เรียนและสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะภาษาจีนโรงเรียนมีชื่อเป็นภาษาจีนว่า “ป้วยมิ้น” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “ส่งเสริมประชาชนหรือบำรุงประชาชน” นั่นเอง
การดำเนินการ – ได้ดำเนินการร่วมกันบริจาคเงินซื้ออาคารไม้ 1 หลัง พร้อมที่ดิน 1 แปลง มีเนื้อที่จำนวน 7 ไร่
1 งาน 98 2/10 ตารางวา รวมเป็นเงิน 15,000 บาท มีนายตัน ผู้พัฒน์ เป็นเจ้าของ นายประพันธ์ ศิริกุล เป็นผู้จัดการ เปิดทำการสอนชั้น ป.1 - ป.4 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และขออนุญาตเพิ่มสอนภาษาจีนนอกหลักสูตร
ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ของกระทรวงศึกษาธิการโดยสอนได้ไม่เกิน สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง
ใช้สอน ป.1-ป.4 ปีการศึกษา 2522 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2503ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม “โรงเรียนลำปลายมาศวิทยา”มาเป็น “โรงเรียนบำรุงวิทยา” เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2503 แต่ยังคงใช้ชื่อภาษาจีนว่า “ป้วยมิ้น” เหมือนเดิม (สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับ
ชื่อภาษาจีนของโรงเรียน)
พ.ศ. 2521 ได้ขยายการเรียนการสอนถึงชั้น ป.5 และ ป.6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2527 โรงเรียนขอจัดตั้งเป็นมูลนิธิ ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิบำรุงวิทยา (ป้วยมิ้น) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การช่วยเหลือและส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนและนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา โดยได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจากเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ วันที่ 30 สิงหาคม 2527 ตามใบอนุญาตเลขที่
ต 506 / 2527 และมีนายบุญนำ ตรีหิรัญกุล เป็นประธานมูลนิธิบำรุงวิทยา (ป้วยมิ้น) เป็นคนแรก โดยมีวัตถุประสงค์
ในการจัดตั้งดังนี้
1. ส่งเสริมสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
2. ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนบำรุงวิทยาที่เกี่ยวกับการศึกษา
3. ส่งเสริมการศึกษาและให้การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา
4. ดำเนินการและให้ความร่วมมือกับทางราชการ หรือองค์กรเอกชนในด้านสาธารณะ สาธารณประโยชน์ และการสังคมสงเคราะห์
5. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใดและให้โรงเรียนบำรุงวิทยาเป็นที่ตั้งสำนักงานมูลนิธิ ณ เลขที่ 368 หมู่ที่ 1 ถนนวงษ์มณีอุทิศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงวันเปิด-ปิดภาคเรียน และเวลาทำการสอนในโรงเรียนดังนี้
1. กำหนดเปิด – ปิด ภาคเรียน
1.1 ภาคเรียนที่ 1 วันเปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม
วันปิดภาคเรียน 11 ตุลาคม
1.2 ภาคเรียนที่ 2 วันเปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน
วันปิดภาคเรียน 1 เมษายน
2. กำหนดเวลาทำการเรียนการสอน
ภาคเช้า เริ่มทำการเรียนการสอน เวลา 09.00 น. – 12.00 น.
ภาคกลางวัน เริ่มเวลา 12.00 น. - 13.00 น.
ภาคบ่าย เริ่มทำการเรียนการสอนเวลา 13.00 น. – 16.00 น.
พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากเดิมปีละ 200 บาท เป็นไม่เก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ เลย
พ.ศ. 2544 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงความจุของนักเรียน ซึ่งเดิมได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนได้ 11 ห้องเรียน จำนวน 385 คน ให้เปลี่ยนแปลงความจุเพิ่มดังนี้ ความจุห้องละ 35 คน จำนวน 9 ห้อง ความจุห้องละ 53 คน จำนวน 9 ห้อง รวมความจุทั้งโรงเรียน 18 ห้องเรียน ความจุนักเรียนทั้งสิ้นรับได้ไม่เกิน 792 คน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ใช้อาคาร 3 เป็นอาคารเรียนได้
พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น (อาคาร 4)
8 ห้องเรียนจากเทศบาลตำบลลำปลายมาศ
พ.ศ. 2548 - โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น (อาคาร 4)เป็น อาคารเรียนได้
- โรงเรียนได้เพิ่มความจุนักเรียนทั้งโรงเรียน จำนวน 1,205 คน
- โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงประเภทโรงเรียนจากโรงเรียนสามัญ 15(1) เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล 15(3)
พ.ศ. 2550 - ต่อเติมอาคาร 4 จำนวน 2 ห้องเรียน (ชั้นบน 1 ห้องเรียน ชั้นล่าง 1 ห้องเรียน)
- ต่อเติมอาคาร 2 ชั้นล่างจำนวน 5 ห้องครึ่ง (ครึ่งห้องใช้เป็นห้องพยาบาล)
พ.ศ. 2551 - ได้รับอนุญาตจากเทศบาลให้ก่อสร้างเพิ่มเติม อาคาร 4 จำนวน 4 ห้องเรียน
(ชั้นบน 2 ห้องเรียน, ชั้นล่าง 2 ห้องเรียน) จากเทศบาลตำบลลำปลายมาศ
- ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราโรงเรียน ชื่อย่อ ชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อภาษาจีน
พ.ศ. 2552 - ตั้งเต็นท์ 2 ห้องเรียน
พ.ศ. 2553 - ก่อสร้างอาคารกึ่งถาวร จำนวน 6 ห้องเรียน (รื้อเต็นท์ 2 ห้องเรียนออก)
พ.ศ. 2554 - ได้ต่อเติมอาคาร 4 จำนวน 4 ห้องเรียน (ชั้นบน 2 ห้องเรียน ชั้นล่าง 2 ห้องเรียน)ปัจจุบันอาคาร 4 มีห้องเรียนทั้งหมด 18 ห้องเรียน
พ.ศ. 2555-2556